10 สิ่งที่ควรทำเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แล้วจะไม่เสียเปรียบคู่กรณี

จำนวนผู้เข้าชม : 12581

10 สิ่งที่ควรทำเมื่อเกิดอุบัติเหตุ แล้วจะไม่เสียเปรียบคู่กรณี

     เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น หลายคนมักตกใจ สติแตก เกิดความสับสน ว่าจะทำอย่างไรดี จะติดต่อใคร  มีคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเมื่อเกิดอุบัติเหตุมาฝากกันครับ สิ่งที่คุณควรทำเมื่อเกิดอุบัติเหตุ คือ

1. หยุดรถ ให้หยุดรถทันทีแม้จะเป็นอุบัติเหตุเล็กน้อย อย่าเลื่อนรถจนกว่าจะตกลงกันได้ว่า ใครเป็นคนผิด หรือถ้าจะให้ดีควรรอให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมาตีเส้นอุบัติเหตุก่อน เว้นแต่เกิดอุบัติเหตุในที่เปลี่ยว ให้จดเลขทะเบียนรถคู่กรณี สีรถ ยี่ห้อ ตำหนิ เวลาและสถานที่เกิดเหตุไว้ แล้วขับต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะถึงที่ชุมชนหรือพบเจ้าหน้าที่ตำรวจ 

 

2. อย่าพูดพล่อย ถ้ายังไม่แน่ใจว่าใครเป็นฝ่ายผิด การขอโทษของคุณอาจเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งอ้างได้ว่า คุณยอมรับเป็นฝ่ายผิด อีกทั้งไม่ควรกล่าวโทษอีกฝ่าย การกล่าวโทษคู่กรณีอาจทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก จำไว้ว่าคุณไม่มีอำนาจตัดสินว่าใครผิดใครถูก รอให้เจ้าหน้าที่เคลมประกันที่คุณทำประกันภัยรถยนต์มาช่วยดูที่เกิดเหตุก่อนก็ดี

 

3. ให้ข้อมูล ควรให้ข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณ ชื่อ ที่อยู่ เลขทะเบียนรถและชื่อประกันที่คุณมี แก่คู่กรณีหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ

 

4. หาข้อมูล ควรขอข้อมูลจากคู่กรณีด้วย หากอีกฝ่ายไม่ให้ ก็ให้จดรูปพรรณและเลขทะเบียนรถไว้  อย่าพยายามยึดใบขับขี่ของคู่กรณีไว้ เพราะคุณอาจโดนข้อหาลักทรัพย์

 

5. แจ้งตำรวจ หลังเกิดเหตุควรแจ้งตำรวจทุกครั้ง แม้เป็นเพียงอุบัติเหตุเล็กน้อย หรืออีกฝ่ายยอมรับผิดก็ตาม มิฉะนั้นแล้วหากอีกฝ่ายแจ้งความในภายหลัง เจ้าหน้าที่จะสรุปว่าคุณเป็นฝ่ายหลบหนีและคุณจะเป็นฝ่ายผิดทุกกรณี หากเจ้าหน้าที่ยังไม่มาให้คุณไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดูที่เกิดเหตุ และตีเส้นตำแหน่งรถ หากไม่สามรถติดต่อเจ้าหน้าที่ได้ ให้คุณทำหนังสือยืนยันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไว้เป็นหลักฐาน โดยลงชื่อยืนยันไว้ทั้งสองฝ่าย อย่าหลงเชื่อคู่กรณี หากอีกฝ่ายบอกว่าไม่ต้องแจ้งตำรวจ เพราะอีกฝ่ายอาจปฏิเสธความรับผิดชอบในภายหลัง หากคุณไม่มีเจ้าหน้าที่เป็นพยาน หรือหนังสือยืนยัน ตามกฏหมายจะถือว่าคำพูดของคุณอ่อนหลักฐาน

 

6. หาพยาน  สอบถามจากคนในบริเวณที่เกิดเหตุ อาจเป็นคนเดินถนน หรือรถคันข้างๆ หากเขายินยอมเป็นพยานให้คุณจดชื่อและที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์เพื่อติดต่อเอาไว้

 

7. ไปโรงพยาบาล หากคุณสงสัยว่าได้รับบาดเจ็บควรไปพบแพทย์ หากปล่อยไว้อาจจะเป็นอันตรายและการเรียกร้องค่าเสียหายในภายหลังจะยากขึ้นด้วย

 

8. แจ้งความ ในกรณีที่มีผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตให้รีบแจ้งความทันที แม้กฎหมายจะผ่อนปรนให้แจ้งความในเวลา 6 เดือน เพราะ บริษัทประกันรถยนต์ส่วนใหญ่ไม่รับใบแจ้งความย้อนหลัง

 

9. ตกลงเงื่อนไขการจ่ายค่าเสียหาย เรียกเจ้าหน้าที่ประกันภัยมาทันทีหลังเกิดเหตุ เจ้าหน้าที่สามารถช่วยแนะนำคุณได้ว่าควรให้บริษัทชดใช้ หรือคุณควรจะจ่ายเอง

 

10. อย่ารีบรอมชอม หลังอุบัติเหตุหากอีกฝ่ายเป็นฝ่ายยอมรับผิด และคุณสงสัยว่าคุณจะได้รับบาดเจ็บ อย่าเพิ่งรีบรับข้อเสนอให้ยอมความ เพราะการบาดเจ็บอาจต้องใช้เวลาสักพักกว่าจะรู้อาการ หากคุณยอมความไปแล้ว การเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมจะทำได้ยากขึ้น 

 

เลือกซื้อ ประกันรถยนต์ ประกันรถยนต์ชั้น 1จากทิพยประกันภัยง่ายๆ คลิกเลย!!

ประกันภัยรถยนต์ ออนไลน์

 

ปล. กดติดตาม เพจ ทิพยประกันภัย แล้วคุณจะไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวบนโลกโชเชียว อินทุกกระแส ครับ 

ข้อมูล : busandtruckmedia.com

บทความที่เกี่ยวข้อง